สินค้าคงคลัง

 

ในระบบสินค้าคงคลังจะประกอบด้วยเอกสารต่าง ๆ ที่กระทบกับยอดคงเหลือหรือความเคลื่อนไหวของสินค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับการซื้อการขาย

 

เอกสารในระบบสินค้าคงคลัง ประกอบด้วย

·         ตรวจนับสินค้า

·         ปรับเพิ่ม/ลดสินค้า

·         รับสินค้าภายใน

·         จ่ายสินค้าภายใน

 

 

ตรวจนับสินค้า


การตรวจนับสินค้า หมายถึงการตรวจนับสินค้าทั้งแผนกหรือทั้งร้าน


ถ้าท่านยังจำได้ เราเคยกล่าวว่าสินค้า 1 ตัว สามารถมีได้หลายบาร์โค้ด เช่น รหัสสินค้าประเภทบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาจจะมี 2 บาร์โึค้ด คือ บาร์โค้ดที่ขายเป็นซอง และบาร์โค้ดที่ขายเป็นแพ็ค 3 ซอง ซึ่งไม่ว่าจะขายด้วยบาร์โค้ดใด การตัดสต็อกก็จะตัดเป็นซอง เพราะเราได้กำหนดหน่วยนับสต็อกเอาไว้เป็นซอง

นั่นหมายความว่าในยามที่เราทำการตรวจนับสินค้านั่น ก็จะมีสินค้าหลากหลายหน่วยภายใต้รหัสสินค้าสินค้าเดียวกัน ฉะนั้นการตรวจนับก็จะต้องระบุบาร์โค้ดที่ตรวจนับตามจริง เช่น

สมมุตว่า ตรวจนับสินค้ารหัส MA-001 มาม่า รสหมูสับ ได้ข้อมูลดังนี้

 

บาร์โค้ด 8850029204543  นับได้ 10 ซอง

บาร์โค้ด 8850029204357 นับได้  5 แพ็ค (1 แพ็ค = 3 ซอง)

 

ฉะนั้นยอดที่นับได้ตามหน่วยสต็อกจริง ก็คือ 25 ซอง

 

ในหน้าเอกสารใบตรวจนับจะมี 2 หน้า คือ

  1. รายการสินค้า (ตามหน่วยนับ)
  2. รายการสินค้า (ตามหน่วยย่อย)

 

รายการสินค้า (ตามหน่วยนับ)

เป็นหน้าที่ท่านใช้บันทึกข้อมูลการตรวจนับตามที่นับได้จริงสรุปตามบาร์โค้ด

 

รายการสินค้า (ตามหน่วยย่อย)

เป็นหน้าที่แสดงข้อมูลสรุปยอดตรวจนับตามรหัสสินค้า (ยอดรวมของบาร์โค้ดที่เป็นรหัสสินค้าเดียวกัน)

ลองทำตามขั้นตอนดังนี้

  1. คลิกเมนู สินค้าคงคลัง >> ตรวจนับสินค้า >> ใบตรวจนับสินค้า
  2. คลิกปุ่ม สร้าง โปรแกรมจะแสดงหน้าจอยืนยันเลขที่เอกสารใหม่

 

  1. คลิกปุ่ม ตกลง

 

 

 

 

 

  1. ที่ช่องวันที่ ให้ป้อนวันที่ตามวันที่ตรวจนับจริง
  2. สร้างรายการสินค้าเข้าไปสัก 2-3 รายการ
  3. คลิกที่หน้า รายการสินค้า (ตามหน่วยย่อย) ท่านจะเห็นยอดตรวจนับสรุปตามรหัสสินค้า
  4. คลิกปุ่ม ยืนยันเอกสาร

 

 

  1. โปรแกรมจะแสดงหน้าจอถามท่านว่า ต้องการสร้างรายการที่ไม่ได้ตรวจนับด้วยหรือไม่?
    โดยปกติการบันทึกยอดคงเหลือจากการตรวจนับนั้น ท่านจะต้องบันทึกทุกรหัสสินค้า แต่ถ้าสินค้าที่ไม่มีของเหลืออยู่ท่านอาจจะไม่ได้นำรหัสนั้น ๆ มาบันทึกลงในใบตรวจนับว่ายอดคงเหลือเท่ากับ 0 เพราะจะเป็นเรื่องที่เสียเวลาอย่างมาก โปรแกรมจึงออกแบบมาให้ถามท่านทุกครั้งที่ยืนยันใบตรวจนับ
     
    ถ้าท่านคลิกปุ่ม
    Yes โปรแกรมจะสร้างรายการสินค้าที่มีความเคลื่อนไหวในรอบที่ผ่านมาลงในใบตรวจนับให้อัตโนมัติ โดยมียอดคงเหลือจากการตรวจนับเท่ากับ 0



การทำใบตรวจนับนั้น ท่านสามารถทำโดยกำหนดวันที่ย้อนหลังก็ได้ เพราะโปรแกรมจะคำนวณสต็อกให้ท่านใหม่อย่างถูกต้องตามวันที่ในเอกสาร

 

หลังจากที่ยืนยันใบตรวจนับแล้ว โปรแกรมจะนำผลต่างที่ได้จากการตรวจนับไปบันทึกลงในสต็อกการ์ดเพื่อปรับยอดคงเหลือให้เท่ากับยอดที่ตรวจนับได้ ณ วันที่ตรวจนับสินค้า

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ปรับยอดสินค้าเพิ่ม/ลดสินค้า

 

การปรับสต็อกนั้น จะใช้ในกรณีที่ต้องการปรับปรุงยอดคงเหลือของสินค้าบางตัว ไม่ใช่การตรวจนับใหญ่ เช่น หากพบว่ามีสินค้าบางตัวที่ยอดคงเหลือผิดเพี้ยนไป โดยหาสาเหตุไม่ได้ ก็ให้ทำใบปรับสต็อกนี้

 

 

ลองทำตามขั้นตอนดังนี้

  1. คลิกเมนู สินค้าคงคลัง >> ปรับเพิ่ม/ลดสินค้า >> ใบปรับยอดสินค้า
  2. คลิกปุ่ม สร้าง โปรแกรมจะแสดงหน้าจอยืนยันเลขที่เอกสารใหม่
  3. คลิกปุ่ม ตกลง
  4. สร้างรายการสินค้าเข้าไปสัก 2-3 รายการ
  5. ป้อนจำนวนที่จะปรับสต็อก โดย
    ถ้าท่านป้อนจำนวนที่มีค่าบวก เช่น  2 จะหมายถึง ปรับเพิ่ม แต่ถ้าป้อนจำนวนที่มีค่าลบ เช่น -2 หมายถึง ปรับลด
  6. คลิกปุ่ม ยืนยันเอกสาร

 

 

รับสินค้าภายใน

 

รับสินค้าภายใน หมายถึงการรับสินค้าเข้าคลังที่ไม่ใช่การซื้อ เช่น รับจากการผลิต

 

ลองทำตามขั้นตอนดังนี้

  1. คลิกเมนู สินค้าคงคลัง >> รับสินค้าภายใน >> ใบรับจากการผลิต
  2. คลิกปุ่ม สร้าง โปรแกรมจะแสดงหน้าจอยืนยันเลขที่เอกสารใหม่
  3. คลิกปุ่ม ตกลง
  4. สร้างรายการสินค้าเข้าไปสัก 2-3 รายการ
  5. คลิกปุ่ม ยืนยันเอกสาร

 

 

 

จ่ายสินค้าภายใน

 

จ่ายสินค้าภายใน หมายถึงการจ่ายสินค้าออกจากคลังที่ไม่ใช่การขาย เช่น เบิกใช้ส่วนตัว จ่ายสินค้าเป็นตัวอย่าง

 ลองทำตามขั้นตอนดังนี้

  1. คลิกเมนู สินค้าคงคลัง >> จ่ายสินค้าภายใน >> จ่ายสินค้าเป็นตัวอย่าง
  2. คลิกปุ่ม สร้าง โปรแกรมจะแสดงหน้าจอยืนยันเลขที่เอกสารใหม่
  3. คลิกปุ่ม ตกลง
  4. สร้างรายการสินค้าเข้าไปสัก 2-3 รายการ
  5. คลิกปุ่ม ยืนยันเอกสาร